Application Performance Monitoring (APM) คือชุดเครื่องมือและกระบวนการที่ช่วยให้ผู้พัฒนาระบบ (IT) มั่นใจว่าแอพพลิเคชันที่ใช้นั้นเป็นไปตามมาตรฐาน มีประสิทธิภาพและมอบประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้งาน (UX) ซึ่ง APM เป็นส่วนหนึ่งของ Application Performance Management แต่ Application Performance Monitoring มุ่งเน้นไปที่การวัดประสิทธิภาพของแอพพลิเคชันเท่านั้น
ปัจจุบันหลายๆองค์กรมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ในองค์กรหรือให้บริการประชาชน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริการขององค์กรและให้สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ ดังนั้นระบบ Application Performance Monitoring เข้ามามีบทบาทกับองค์กรที่มีการใช้งานแอปพลิเคชั่นที่มีความซับซ้อน และต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา รวมทั้งช่วยให้รู้ว่าระบบแอปพลิเคชั่นเริ่มมีแนวโน้มที่จะทำงานผิดปกติก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น สามารถตรวจหาสาเหตุของแอพพลิเคชั่นที่ทำงานล่าช้า เช่น มีการทำระบบ Monitoring มาตรวจจับการทำงานของ CPU, Memory ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบแอพพลิเคชั่นนี้ทำงานอยู่ และสามารถตรวจสอบเชิงลึกไปถึงระดับ Coding ว่าส่วนไหนมีปัญหา หรือ การเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล (Data base) หลังบ้านมีการทำงานผิดปกติหรือไม่
โดยหลักการการทำงานของ APM จะถูกออกแบบ (Framework) มาให้ตอบโจทย์ให้กับทีมผู้พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นที่คลอบคลุมตั้งแต่ต้นจนจบ ดังภาพ
End User Experience : ช่วยให้ผู้ดูแลระบบแอพพลิเคชั่นทราบถึงความพึงพอใจของผู้เข้ามาใช้งานระบบแอพพลิเคชั่นได้ เช่น เมื่อเข้ามาสั่งซื้อสินค้าแล้วทำการสั่งซื้อสำเร็จหรือไม่ เทียบกับการเข้ามาดูแล้วไม่สั่งซื้อ หรือทำการสั่งซื้อแล้วเกิดความผิดพลาดในระบบขึ้น เป็นต้นRuntime Application Architecture : ช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเชื่อมต่อระดับแอพพลิเคชั่น เช่น แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์เชื่อมต่อกับดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์เครื่องใดบ้าง โดย APM แต่ละยี่ห้อมักจะมีความสามารถในการหาความสัมพันธ์และสร้างเป็น Map Topology เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจโครงสร้างของระบบแอพพลิเคชั่น ทำให้การหาปัญหาของระบบว่าเกิดขึ้นที่ส่วนไหนสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นBusiness Transaction : ช่วยให้ผู้ดูแลระบบแอพพลิเคชั่น ทราบช่องทางที่ผู้เข้ามาใช้งานระบบแอพพลิเคชั่นเข้ามาใช้งานนำมาช่วยเป็นข้อมูลเชิงวางแผนต่างๆ เช่น ฟังก์ชั่นไหนของแอพพลิเคชั่นที่มีผู้เข้ามานิยมใช้งานมาก ส่วนใดไม่ค่อยได้รับความนิยมและควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้นDeep Dive Component Monitoring : ช่วยให้ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถตรวจสอบปัญหาได้ลึกถึงระดับ Coding ที่ทางผู้พัฒนาได้เขียนขึ้น เนื่องจากบางครั้งสาเหตุที่ระบบแอพลิเคชั่นทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรอาจเกิดปัญหามาจาก Coding ที่ผู้พัฒนาเขียนขึ้นมาไม่ได้มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้ผู้พัฒนาแก้ปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้นAnalytics / Report : หลังจากที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของระบบแอพพลิเคชั่นจากส่วนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว APM ช่วยนำข้อมูลเหล่านั้นมาออกเป็นรายงานที่ง่ายต่อความเข้าใจสำหรับระดับผู้พัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นและผู้บริหาร และสามารถนำข้อมูลไปใช้พัฒนาและปรับปรุงระบบแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขั้นต่อไป
ทำไม APM จึงมีความจำเป็นต่อองค์กร
ทุกองค์กรที่มีการนำแอพพลิเคชั่นเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการ Monitoring เพราะจะช่วยให้
ช่วยให้ผู้ดูแลระดับผู้บริหารมีข้อมูลในการวางแผนให้ระบบแอพพลิเคชั่นรองรับกับจำนวนของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งข้อมูลจาก APM ยังสามารถช่วยตัดสินใจในการวางกลยุทธ์ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อการแข่งขันเชิงธุรกิจอีกด้วย ช่วยลดเวลาในการหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบแอพพลิเคชั่น และทีม IT สามารถแจ้งปัญหาข้อผิดพลาดกลับไปยังผู้รับผิดชอบได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับระบบแอพพลิเคชั่นได้ถึงระดับ Coding ทำให้สามารถลดเวลาในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา และพัฒนาระบบแอพพลิเคชั่นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้ความสามารถ AI causation engine ช่วยหาความผิดปกติได้แบบอัตโนมัติ และระบุต้นตอของปัญหานั้นๆ เพราะมนุษย์ไม่สามารถหาความผิดปกติในระบบที่ซับซ้อนของ microservices ได้ด้วยตัวเอง ช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเชื่อมต่อระดับ application ช่วยค้นหา (Discovery) ,Monitoring, Correlation, Self-healing อย่างอัตโนมัติ เช่น app ดังกล่าวเชื่อมต่อกับ database อะไรบ้าง และยังสามารถมองเห็นได้แบบ full stack ทั้งจากส่วนของ application, infrastructure และ user experience แบบ End to End มีฟังก์ชั่นช่วยตรวจสอบ Review code, DevSecOps เพื่อ ตรวจสอบ security ว่าปลอดภัยไหม ผ่านไหม และนำไป Deploy ต่อที่ DEV/ SIT/ UAT/ Staging/ Production ต่อไป ระบบบริหารจัดการ การเข้าถึงข้อมูลแบบ role-based โดยสามารถเลือกการติดตั้งได้แบบ SaaS หรือจะเป็น SaaS Currency ที่ข้อมูลเก็บไว้แบบ on-premise ก็ได้เช่นกัน
อ้างอิง
https://stelligence.com/introduction-to-application-performance-management-monitoring-apm/
https://www.motadata.com/blog/application-performance-monitoring/
สนใจติดตั้ง Application Performance Monitoring
ติดต่อ Sales@ucsbkk.com
โทร. 02-236-0208
บทความที่นิยม